RAMA 9 RESCUE
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
เข้าสู่ระบบ(Log in)

ลืม(forget) password

Latest topics
» __ เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ NOCO GENIUS จาก USA ดีที่สุด/ถูกที่สุด รับประกัน5ปีเต็ม
การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ EmptyMon Aug 26, 2019 2:36 pm by e20xxx

» ตรวจสอบแบตเตอรี่ผ่านสมาร์ทโฟนด้วย intAct Battery-Guard คุณจะสามารถเฝ้าดูระดับแบตเตอรี่ของคุณได้อยู่เสมอ ไม่ต้องรื้อถังไม่ต้องเอามิเตอร์ไปต่อขั้วแบตให้ยุ่งยากอีกต่อไป
การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ EmptySat Jul 22, 2017 2:58 pm by e20xxx

» __สุดยอดเครื่องวิเคราะห์ แบตเตอรี่/ไดร์ชาร์จ/ไดร์สตาร์ท คุณภาพสูง นำเข้าจากต่างประเทศ ถูกที่สุด/ดีที่สุด
การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ EmptySat Jul 22, 2017 2:58 pm by e20xxx

» บริการตรวจเช็คอาการผิดปกติของรถยนต์ ซ่อมกล่อง ECU (จำหน่ายเครื่องสแกนรถยนต์ OBDI,OBDIIและ คู่มือซ่อมรถทุกยี่ห้อ)
การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ EmptyFri Jul 29, 2016 11:13 am by DayOnline

» ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น (CPR) สำหรับผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป
การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ EmptyFri Jul 17, 2015 2:50 pm by marksomzing

» สอบถามการสมัครสมาชิก
การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ EmptyFri Jul 17, 2015 2:36 pm by marksomzing

» จำหน่ายและรับสั่งงานไม้ตกแต่งบ้าน โลโก้ไม้ ป้ายตั้งโต๊ะสำนักงาน ป้ายบ้าน บริษัท สินค้าฟรีออเดอร์ ฯลฯ
การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ EmptyTue May 26, 2015 4:29 pm by DayOnline

» ___ ขายเหมา เบสและโมบาย 3 ตัว Icom 746Pro / Vertex VX-1700 / kenwood trc 80
การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ EmptyWed Jan 07, 2015 11:50 am by e20xxx

» เครื่องดักฟังระยะไกล / GPS ติดตามรถหาย กิ๊กหาย หรือระบุตำแหน่งรถ ผ่านเครือข่ายมือถือ
การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ EmptyWed Jan 07, 2015 11:08 am by e20xxx


การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ

3 posters

Go down

การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ Empty การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ

ตั้งหัวข้อ  RAMA9RESCUE41-27 Sat Feb 14, 2009 2:02 pm

โดยการสังเกตฉลากหรือเครื่องหมาย ซึ่งเป็นเครื่องหมายสากล ที่ติดบนภาชนะบรรจุ ถังเหล็ก แท็งก์ หรือป้ายที่ติดบนรถยนต์หรือรถบรรทุก ดังนี้
วัตถุระเบิด: ระเบิดได้เมื่อถูกกระแทกเสียดสี หรือความร้อน เช่น ทีเอ็นที ดินปืน พลุไฟ ดอกไม้ไฟ
ก๊าซไม่ไวไฟ, ไม่เป็นพิษ : อาจเกิดระเบิดได้ เมื่อถูกกระแทกอย่างแรก หรือได้รับความร้อนสูงจากภายนอก เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจนเหลว ก๊าซคาร์บอกไดออกไซด์
ของเหลวไวไฟ : ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ อะซิโตน ไซลิน
วัตถุที่ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ : เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ โซเดียม
วัตถุออกซิไดส์ : ไม่ติดไฟแต่ช่วยให้สารอื่นเกิดการลุกไหม้ได้ดีขึ้น เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โปแตสเซียมคลอเรต แอมโมเนียม ไนเตรท
วัตถุติดเชื้อ : ;วัตถุที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนและทำให้เกิดโรคได้ เช่น ของเสียอันตรายจากโรงพยาบาล เข็มฉีดยาที่ใช้แล้ว เชื้อโรคต่างๆ
วัตถุอื่นๆ ที่เป็นอันตราย : เช่น ของเสีย อันตราย แอสเบสทอสขาว เบนซัลดีไฮด์ของเสียปนเปื้อน ไดออกซิน
ก๊าซไวไฟ : ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น ก๊าซหุงต้ม ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน ก๊าซอะเซทีลีน
ก๊าซพิษ : อาจตายไปเมื่อสูดดม เช่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์
ของแข็งไวไฟ : ลุกติดไฟง่าย เมื่อถูกเสียดสี หรือความร้อนสูงภายใน 45 นาที เช่น ผงกำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไม้ขีดไฟ
วัตถุที่เกิดการลุกไหม้ได้เอง : ลุกติดไฟได้เมื่อสัมผัสกับอากาศภายใน 5 นาที เช่น ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสเหลือง โซเดียมซัลไฟต์
ออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์ : อาจเกิดระเบิดได้เมื่อถูกความร้อนไวต่อการกระทบและเสียดสีทำปฏิกริยารุนแรงกับสารอื่น ๆ เช่น อะซิโตนเปอร์ออกไซด์
วัตถุมีพิษ : อาจทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการกิน การสูดดม หรือจาการสัมผัสทางผิวหนัง เช่น อาร์ซีนิค ไซนาไนด์ ปรอท สารฆ่าแมลง สารปรอทศัตรูพืช โหละหนักเป็นพิษ





สามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?

1. การหายใจ :การหายใจเป็นการเข้าสู่ร่างกายที่สำคัญของสารเคมีที่อยู่ในรูปของไอระเหย ก๊าซ ละออง หรือ อนุภาค เมื่อสารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ อาจทำลายระบบทางเดินหายใจ หรือเข้าสู่ปอด กระแสเลือดแล้วทำลายอวัยวะภายใน
2. ดูดซึมผ่านผิวหนัง (หรือตา) :โดยการสัมผัสหรือจับกันสารพิษ อาจมีผลกระทบที่ค่อนข้างน้อย เช่น เป็นผื่นแดง หรือรุนแรงมากขึ้น เช่น ทำลายโครงสร้างของผิว หรือทำให้อ่อนเพลียหรืออาจซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำลายอวัยวะหรือระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายขั้นรุนแรง และอาจตายได้
3. การกินเข้าไป : หาสารที่กินเข้าไปมีฤทธิ์กัดกร่อน จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารสารที่ไม่ละลายในของเหลวในทางเดินอาหารจะถูกขับออกทางอุจจาระ ส่วนสารที่ละลายได้จากถูกดูดซึมผ่านผนังของทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะภายใน ความเป็นพิษขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสารเคมีที่กินเข้าไป
4. การฉีดเข้าไป: สารอาจเข้าสู่ร่างการได้ถ้าผิวหนังถูกแทงหรือทำให้ฉีกขาดด้วยวัตถุที่ปนเปื้อน ผลกระทบเกิดขึ้นเมื่อสารนั้นเข้าสู่กระแสเลือดและสะสมในอวัยวะเป้าหมาย
โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่รับผิด

เกิดเหตุในกรุงเทพมหานคร โทร. 199 หรือศูนย์กรุงเทพมหานคร โทร. 1555 หรือกรมควบคุมมลพิษ โทร. 1650
เกิดเหตุในต่างจังหวัด โทร. 1999 หรือกรมควบคุมมลพิษ โทร. 1650
เกิดเหตุบนทางหลวง โทร. 1193
เกิดเหตุบนทางด่วน โทร. 1543
เกิดเหตุบนท้องถนน แจ้งศูนย์ปลอดภัยคมนาคม โทร. 0 2280 8000
เกิดเหตุเกี่ยวกับวัตถุกัมมันตรังสี แจ้งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติในเวลาราชการ โทร. 0 2579 5230-4 ต่อ 552, 553, 139 นอกเวลาราชการ โทร. 0 2579 5230 -4 หรือ 0 2562 0123
แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุและประสานงานด้านการบรรเทาสาธารณภัย โทร. 0 2241 7450-9
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร. 1784
ศูนย์นเรนทร โทร. 1669
RAMA9RESCUE41-27
RAMA9RESCUE41-27
อัศวินผู้พิทักษ์
อัศวินผู้พิทักษ์

จำนวนข้อความ : 46
Registration date : 09/02/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ Empty Re: การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ

ตั้งหัวข้อ  neoonecbr Mon Sep 07, 2009 11:24 pm

ทราบ ว.2 ข้อความ
neoonecbr
neoonecbr
เทพอัศวิน
เทพอัศวิน

จำนวนข้อความ : 63
Registration date : 02/09/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ Empty Re: การสังเกตุสารเคมีอันตรายเมื่อออกเหตุ

ตั้งหัวข้อ  rama9 73-29 Thu Apr 29, 2010 3:08 pm

ขอบคุณมากๆนะครับ
rama9 73-29
rama9 73-29
เทพอัศวิน
เทพอัศวิน

จำนวนข้อความ : 64
Age : 46
ที่อยู่ : ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000 โทร.081-7865137
Job/hobbies : HS6VSQ
Registration date : 11/05/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ